ประวิตร วงษ์สุวรรณ บิ๊กป้อม VS. บิ๊กตู่ ประยุทธ์ จันทร์โอชา กำเนิดนายร้อย จปร.
กำเนิดนักเรียนเหล่า นายร้อย จปร. รั้วแดงกำแพงเหลือง
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ นตท.6 จบเตรียมทหารก็ขึ้นเหล่าโรงเรียนนายร้อย จปร. รุ่นที่ 17 สำหรับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นตท.12 เช่นกันตามกันไปเรียนต่อที่โรงเรียนเหล่าทหารบกในรุ่นที่ 23 แต่ไม่ทันเห็นฝุ่นกันกับบิ๊กป้อม ซึ่งได้จบไปก่อนที่บิ๊กตู่จะขึ้นเหล่า 2 ปี
ประวัติพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีต ผบ.ทบ.
สำหรับหลักสูตรการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยสมัยก่อนโน้น ยังคงใช้การวัดผลเป็นเปอร์เซ็นต์อยู่ ต่อมาเปลี่ยนเป็นการใช้ระบบหน่วยกิตแทนในการตัดสินได้เสียสอบได้หรือสอบตก โดยระเบียบได้กำหนดไว้อย่างเข้มข้นว่าคะแนนรวมจะต้องได้มากกว่าร้อยละ 60 ขึ้นไป สำหรับคะแนนในแต่ละหมวดวิชานั้นก็ต้องไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 60 เช่นเดียวกัน ตกหมวดวิชาใดและไม่ว่าคะแนนรวมจะทำได้สูงยอดเยี่ยมเทียมฟ้าเพียงใดก็ตาม ระเบียบจะกำหนดว่าให้นักเรียนผู้นั้นจงอยู่ซ้ำชั้นเสียอีกปีหนึ่งซะดีๆ ถ้าซ้ำสองปีซ้อนก็ออกไปเลย
ในเรื่องการฝึกของนักเรียนนายร้อยแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1.หลักสงคราม 2.การฝึกวิชาทหาร และ 3.การฝึกภาคสนาม อย่างที่หนึ่ง ว่าด้วยการสงคราม หลักการรบทั้งหลายเหล่ อันนี้นักเรียนจะเรียนในห้องเรียน ฝั่ง กศ. คำเต็มคือ ฝั่งกองการศึกษา หน้ากระทรวงศึกษาธิการไงล่ะครับ เช้าเดินแถวไป ตอนบ่ายเดินแถวกลับมาที่ฝั่งกรมนักเรียนฯ
อย่างที่สองเกี่ยวกับการฝึก ได้แก่ การฝึกในโรงเรียน มีการฝึกแถวชิด คือ ซ้ายหัน ขวาหัน การฝึกท่าบุคคลต่างๆ การฝึกในโรงเรียนกระทำกันทั้งปี ระหว่างภาคการศึกษา อย่างที่สามการฝึกภาคสนาม โรงเรียนนายร้อยจะพานักเรียนทุกชั้นปีไปฝึกภาคสนามตามที่ตั้งสนามฝึกในต่างจังหวัด มีการหมุนเวียนการฝึกไปตามศูนย์การทหารต่างๆ
ประวัติพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ บิ๊กป้อม อดีต ผบ.ทบ.
หลังจากจบการฝึกภาคสนามแล้ว นักเรียนนายร้อยก็จะได้เลื่อนชั้นปี บางคนก็ไม่ได้เลื่อนชั้นต้องเรียนซ้ำชั้นเพราะเรียนไม่ผ่าน สำหรับนักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ 5 ก็จะจบการศึกษาในชั้นสูงสุด เป็นว่าที่ร้อยตรีเลือกที่ลงตามคะแนนเรียงตามลำดับ ในส่วน นนร.ประวิตร วงษ์สุวรรณ กับนนร.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในชั้นปีที่ 5 ได้เลือกที่ลงในหน่วยกรมทหารราบที่ 21 รอ. ด้วยกันทั้งคู่ กำเนิดสายบูรพาพยัคฆ์ 3 ป. ก็ว่ากันไปตามชะตาชีวิตฟ้าลิขิตให้เป็นต่อไป