ประวัติพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ บิ๊กป้อม อดีต ผบ.ทบ.
ประวัติพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ บิ๊กป้อม กำเนิดนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 6 นักเรียนนายร้อย จปร. รุ่นที่ 17
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หรือบิ๊กป้อม เมื่อครั้งยังเป็นนักเรียนก่อนที่จะเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร เรียนอยู่ที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล โดย รร. นี้มีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงและเป็น ผบ.ทบ. คนปัจจุบันคือ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ โดยบิ๊กป้อมจบเซนต์คาเบรียลในปี พ.ศ. 2505 แล้วสอบเข้าเรียนเตรียมทหารในรุ่นที่ 6(นตท.6/2506) การดูเลขรุ่นเตรียมให้ดูพร้อมกับปีที่เข้าได้เลย อธิบายก็คือ บิ๊กป้อม เตรียมรุ่น 6 จะเข้าเรียนในปี พ.ศ. 2506 อีกตัวอย่าง บิ๊กแดง นตท. รุ่น 20 ก็จะเรียนในปี 2520 เป็นต้น
ประวัติ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก – Thai army chief Gen. Apirat Kongsompong
การสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารของ พล.อ.ประวิตรฯ สอบครั้งเดียวติด ถือว่ามีความสามารถซึ่งสอบครั้งแรกครั้งเดียวโดยผ่านทั้งสอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์และทดสอบร่างกาย ถ้าคิดเทียบเป็นอัตราส่วนก็ประมาณ 100 ต่อ 1 กล่าวคือ นักเรียนชายไทย 100 คน คัดมา 1 คน ที่จะได้เข้าเรียนใน รร.ตท. ซึ่งเป็นการสอบแข่งขันที่สูงมาก บางคนต้องติวเข้ม เตรียมสอบในคอสนู่นนี่นั่นหรือบางคนไม่ได้ติวเลย อาศัยเรียนในห้องก็ดีมีทุกประเภทแล้วมาสอบ มีผิดหวังและสมหวังก็ว่ากันไปตามบุญพาวาสนาส่ง หรือตามแต่ชะตาฟ้าลิขิต แต่ก็หารู้ไม่ว่า “ทางไปสู่เกียรติศักดิ์ จักประดับดอกไม้ หอมยวลชวนจิตไซร้ ไป่มี”
ชีวิตจริงในรั้วโรงเรียนเตรียมทหารหลังจากที่ นตท.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ในขณะนั้นได้เข้ามาเป็นนักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 1 สถานะเริ่มแรกยังเป็นนักเรียนใหม่ ซึ่งมีสิทธิเท่ากับศูนย์ถึงติดลบ จะถูกปกครองโดยนักเรียนเตรียมรุ่นพี่(นตท.รุ่น 5) ฝึกฝึกฝึกแล้วก็ฝึก การปรับปรุงลักษณะทหาร ถูกอบรมระบบ 3 ระบบ ได้แก่ ระบบอาวุโส, ระบบเกียรติศักดิ์, ระบบนักเรียนใหม่ การปฎิบัติเป็นอยู่แบบนี้วนไป 1 ปี ตาม รปจ. ภาษาทหารเรียกว่า ระเบียบปฏิบัติประจำ แต่รุ่น 6 นักเรียนเตรียมไม่ได้อยู่ประจำ ก็คือนักเรียนต้องไปเช้าเย็นกลับ เช้าขึ้นรถเมล์มาเรียน เย็นก็ขึ้นรถเมล์กลับบ้าน ใครจะมีรถมาส่งทางราชการก็ไม่ห้ามแต่อย่างใด
ประวัติพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีต ผบ.ทบ. ทหารเสือราชินี บูรพาพยัคฆ์ จบนักเรียนนายร้อยได้เลือกที่ลงที่เดียวกับ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ปัจจุบันคือหน่วย ร.21 รอ.
จนกระทั่ง พลเอกประวิตรฯ ได้เลื่อนชั้นเป็นนักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 2 พร้อมกันทั้งรุ่น ปกครองน้องรุ่นต่อมา นตท.7 อยู่ด้วยกัน กินข้าวหม้อเดียวกัน ร่ำเรียนเขียนอ่านฝึกศึกษา อีกทั้งต้องดูแลอบรมสั่งสอนน้องที่เข้ามาใหม่ ตั้งแต่เป็นนักเรียนใหม่ โดยที่ตนเองถูกปกครองมาอย่างไร ก็ถ่ายทอดไปสู่รุ่นน้องแบบนั้น หรือบางคนก็คัดเอาแต่สิ่งดีดีมาถ่ายทอด เรื่องไม่ดีก็เก็บไว้ที่ตัวเองคนเดียว นี่คือชีวิตนักเรียนเตรียมฯ ปี 2
นตท.ประวิตรฯ ในชั้นปีที่ 2 ขณะนั้นเป็นช่วงเวลาที่มีอิสระพอสมควร ในการเรียนการฝึกจะเข้มข้น ในเรื่องการถูกซ่อมจะมีน้อยมากในปี 2 เพียงแค่รับผิดชอบตัวเองไปเรียนทุกคาบ ส่งงานครบ ทำข้อสอบให้ผ่าน จบแน่นอน เวลาห้วงนี้จะเร็วมาก แปปแปปครบ 3 เดือน ผ่านไปครึ่งปี จนครบ 1 ปีที่ใช้ชีวิตในโรงเรียนเป็นชั้นปีที่ 2 เพื่อนๆ ในรุ่นรวมเหล่า ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และตำรวจ ต้องแยกย้ายกันขึ้นเหล่าตามที่ได้เลือกไว้
ประวัติพลเอกธีรชัย นาควานิช อดีต ผบ.ทบ. กำเนิดจากสายบูรพาพยัคฆ์ ได้เคยร่วมงานกับ พลเอกประวิตรฯ ตั้งแต่ร้อยโท ในสมัยบิ๊กป้อมดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับกองพัน
สำหรับ นตท.ประวิตรฯ ในขณะนั้นได้เลือกเหล่าทหารบก จะต้องไปศึกษาต่อในรั้วแดงกำแพงเหลือง โรงเรียนนายร้อย จปร. รุ่นที่ 17 (วิธีคิดรุ่น จปร. = รุ่น นตท. + 11) ชีวิตนักเรียนเหล่าเป็นระดับอุดมศึกษา จะมีความเข้มข้นมากกว่าโรงเรียนเตรียมทหารอีกหลายเท่า และต้องอยู่ร่วมกับรุ่นพี่รุ่นน้องทั้ง 5 ชั้นปี ตั้งแต่ปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 5 ระบบซีเนียริตี้ จะถูกอบรมปลูกฝังให้ยึดถือความเป็นพี่น้องอย่างเคร่งครัด โดยถือเอารุ่นที่เข้าโรงเรียนเตรียมทหารเป็นสำคัญ ก่อนที่จะมีรุ่นเฉพาะเหล่าใครเหล่ามัน เมื่อแยกย้ายเข้าสู่โรงเรียนเหล่าหลังจากนั้น กำเนิดนักเรียนนายร้อย จปร. รุ่นที่ 17 นนร.ประวิตร วงษ์สุวรรณ
พลเอกอภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ. VS พลเอกเฉลิมชัย สิทธิสาท อดีต ผบ.ทบ. เปลี่ยนผ่านปี 2018